JP นั่งอยู่บนเก้าอี้อาร์มแชร์ ล้อมไปด้วยหนังสือมากมายตั้งเรียงรายบนชั้นหนังสือและวางกองอยู่บนพื้น ปูด้วยพรมพื้นเมืองชิลีลวดลายสีสันสดใส มีกีตาร์โปร่งวางอยู่ข้างๆ เก้าอี้

สรรค์สร้างงานเพื่อ Apple สร้างสรรค์ประสบการณ์เพื่อทุกคน

เป้าหมายคือการยกระดับชีวิตของผู้คน โดยไม่เลือกแบ่งแยกใคร และทำทุกอย่างเพื่อรักษาคำมั่นนี้
JP ตำแหน่ง Instructional Designer
คูเปอร์ติโน สหรัฐอเมริกา

Question: คุณเริ่มเส้นทางอาชีพกับ Apple ที่ Apple Store ใช่ไหม Answer: ใช่ครับ เมื่อ 15 ปีก่อนในตำแหน่งงานชั่วคราว จากนั้นผมก็ขยับมาทำตำแหน่งงานนอกเวลา เลื่อนเป็นเต็มเวลา จนได้ตำแหน่งงานใหม่ที่คูเปอร์ติโน และล่าสุดก็มาอยู่กับ Technology Development Group Question: งานสุดท้าย ฟังชื่อแล้วน่าจะเป็นความลับสุดยอด Answer: ผมบอกไม่ได้มากครับ แต่หลักๆ คือเราศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ หน้าที่ผมคือสร้างแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น คอร์สฝึกอบรมและวิดีโอ เพื่อเป็นข้อมูลให้ทีมของเราได้เรียนรู้และร่วมมือกันทำงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีเหล่านี้

Question: นับจากวันที่คุณทำงานที่นี่ Apple เติบโตไปมาก มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง Answer: ที่เปลี่ยนมากที่สุด ก็บทบาทหน้าที่ของผม ส่วนอย่างอื่นก็เติบโตหยั่งลึกยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะหลักการเบื้องหลังผลิตภัณฑ์หรือเบื้องหลังบริษัทฯ Question: หลักการของบริษัทข้อไหน Answer: เยอะเลยครับ ถ้าให้ยกตัวอย่าง ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม ความเป็นส่วนตัว ความหลากหลาย ความยุติธรรม อะไรพวกนี้ เราจริงจังและเสียงดังมากขึ้น แล้วเราก็ไม่อ้อมค้อมในเรื่องเหล่านี้เลย Question: ชัดเจนได้ใจความในแบบของ Apple Answer: ใช่ครับ อย่างบนหน้าความเป็นส่วนตัว ประโยคแรกคือ "ความเป็นส่วนตัวเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของทุกคน" เราไม่ใช้ภาษากฎหมายอะไรให้ชวนกำกวมเลย หรือจะดูตัวอย่างวิธีที่ Apple สนับสนุนนักล่าฝัน DACA ก็ได้ Question: หมายถึงเยาวชนผู้เข้าร่วมโปรแกรม Deferred Action for Childhood Arrivals น่ะหรือ Answer: ใช่ครับ ผู้นำของเรากล้าจะวิพากษ์ถึงปัญหาจริยธรรม และพูดถึงกลุ่มนักฝันนับร้อยชีวิตในทีมของเราว่าสำคัญต่อความสำเร็จของ Apple อย่างไร

ฟองคำพูดสีสดใส 2 ข้อความ เขียนเป็นภาษาสเปน คือ claro ซึ่งแปลว่าใช่ กับ empatia ซึ่งแปลว่าความเห็นอกเห็นใจ
การทำสิ่งที่ถูกต้อง ยากที่จะเจอเรื่องง่าย

Question: ความรู้สึกรับผิดชอบนี้ส่งผลต่อการทำงานประจำวันของทีมไหม Answer: แน่นอนครับ เข้ามาอยู่ในทุกอย่างที่เราทำเลย เช่น ตอนผมอยู่ฝ่าย Apple Support เราทำสื่อสำหรับฝึกอบรมช่างเทคนิคในภูมิภาคลาตินอเมริกา งานแปลต่างๆ ที่ทำออกมา เราให้แปลเป็นภาษาสเปนของภูมิภาคนั้นเลยครับ พนักงานจะได้รู้สึกว่านี่เป็นตำแหน่งงานของตัวเองจริงๆ แล้วรู้สึกว่าเป็นที่ต้อนรับด้วย ฟังดูอาจจะเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่แสดงถึงการให้เกียรติในความแตกต่างทางวัฒนธรรมครับ

Question: แล้วสมาชิกทีมตัดสินใจทำสิ่งต่างๆ อย่างนี้ได้ยังไง มันน่าจะยุ่งยากมากขึ้นนะ Answer: ก็อาจจะยุ่งยากขึ้นครับ แต่ความคิดเช่นนี้มันหลอมรวมอยู่ในกระบวนการทำงานของเราไปแล้ว ไม่ใช่นึกคิดขึ้นมาทีหลัง Question: ไม่มีใครต่อต้านเลยเหรอ Answer: เท่าที่ร่วมงานกับทีมต่างๆ ไม่มีนะครับ ผมว่าชาว Apple ไม่ใช่คนประเภทที่จะมาคุยว่าเราควรทำสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ แต่จะคิดว่าเราจะทำอย่างไรให้ถูกต้องมากกว่า

ฟองคำพูดสีสดใส 3 ข้อความ เขียนเป็นภาษาสเปน คือ YNSBJ, coraje ซึ่งแปลว่าความกล้าหาญ และ curiosidad ซึ่งแปลว่าความสงสัยใคร่รู้
เราพยายามที่จะเข้าใจความซับซ้อนของมนุษย์ เพื่อสรรค์สร้างผลิตภัณฑ์เพื่อผู้คนอย่างแท้จริง

Question: งานแต่ละวันมากขึ้น แต่ออกมาดี Answer: ใช่ครับ แล้วพอรวมวันดีๆ ที่เกิดขึ้นทั่ว Apple เข้าด้วยกัน ผมว่าลูกชายวัย 6 ขวบของผมจะต้องโตขึ้นอย่างฉลาดและปลอดภัย เพราะสิ่งที่เราคิดตัดสินใจในวันนี้ ผมชอบแบบนี้นะ ทำให้ผมมีกำลังใจ

Question: เวลาคิดเรื่องงานโดยมีผู้คนเป็นจุดศูนย์กลาง ช่วยให้ตัดสินใจง่ายขึ้นไหม Answer: ง่ายนะสำหรับผม ที่นี่เรามองอะไรไกลเกินกว่าเรื่องงาน Question: หมายความว่ายังไง Answer: อย่างตัวผม การได้เห็น Apple ช่วยเหลือผู้อพยพจากทั่วโลกเป็นอะไรที่พิเศษและมีความหมายมาก Question: ทำไมล่ะ Answer: ตอนปี 1985 ผมกับแม่อพยพจากชิลีข้ามพรมแดนสหรัฐฯ เข้ามา เราถูกกักตัวและต้องอยู่แยกกัน 2-3 อาทิตย์ระหว่างรอทางการตรวจสอบวีซ่า ช่วงระยะหลังมานี้ พอได้เห็นหลายครอบครัวต้องถูกแยกจากกัน ก็รู้สึกสะเทือนใจ การที่ Apple แสดงจุดยืนที่จะต่อต้านการแยกเด็กจากพ่อแม่ผู้ปกครอง จึงสำคัญกับผมมาก และ Apple ก็ยังร่วมสมทบเงินบริจาคและทำต่อเนื่องมานานหลายปี นั่นหมายความว่า เงินที่ผมบริจาคให้แก่องค์กรที่ช่วยเหลือครอบครัวผู้อพยพ ก็จะเพิ่มเป็นสองเท่า

ตุ๊กตากระดาษตัดเป็นรูปคนหลายๆ คนจับมือกัน

วาดบน iPad